วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สัตว์น้ำคุ้มครองที่ใกล้จะสูญพันธุ์

โลมาอิรวดี......

ชื่อไทย โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร (Irrawaddy Dolphin หรือ Ayeyarwaddy Dolphin)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Orcaella brevirostris อยู่ใน

วงศ์โลมา (Delphinidae)

รูปร่างหน้าตา คล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180 - 275 ซ.ม. น้ำหนักไม่มีรายงาน

มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบ เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิระวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 พบว่ามีอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบัน สามารถพบได้ที่ ทะเลสาบชิลก้า ประเทศอินเดีย แม่น้ำโขง ทะเลสาบสงขลาและปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหาร ได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) จัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์


โลมาอิรวดีบนเวทีอนุรักษ์โลก........

โลมาอิรวดีได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศไทยเสนอเพิ่มความคุ้มครองในอนุสัญญาไซเตสจากบัญชีสอง เป็นบัญชีหนึ่ง เพื่อให้โลมาที่น่ารักและมีจำนวนประชากรน้อยนิดชนิดนี้ได้รับการคุ้มครองมา


ทำความรู้จักโลมาอิรวดี..............

โลมาอิรวดี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ในน้ำจืดถึงน้ำเค็ม พบแพร่กระจายอยู่ในประเทศกลุ่ม อินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อินเดียถึงออสเตรเลีย มีรายงานการพบในบังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และไทย ในแต่ละบริเวณจะพบโลมาอิรวดีอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ชายฝั่ง หรือทะเลสาบน้ำกร่อย ซึ่งแต่ละแห่งมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งโลมาอิรวดีที่มีอยู่ยังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทยนั้น โลมาอิรวดีเป็นหนึ่งในบรรดาโลมาราว 7-10 ชนิดที่พบในประเทศไทย โลมาชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากโลมาทั่วๆ ไปคือ เป็นโลมาที่ไม่มีจะงอยปาก หัวกลมมนคล้ายๆ บาตรพระ เลยมีอีกชื่อหนึ่งว่า “โลมาหัวบาตร” แต่โลมาอิรวดีจะต่างจากโลมาหัวบาตรชนิดอื่นๆ ตรงที่โลมาอิรวดีจะมีครีบหลังรูปสาม เหลี่ยมโค้งมน ขนาดไม่ใหญ่นัก สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำเงินเทาตลอดตัว แต่บริเวณท้องจะมีสีจางลง โลมาอิรวดี ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็ก น้อย อายุเฉลี่ยของโลมาอิรวดีอยู่ที่ ประมาณ

โลมาอิรวดีกำลังจะสูญพันธุ์..........

สถานการณ์ความอยู่รอดของโลมาอิรวดีทั่วโลกกำลังตกอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง รวมทั้งในประเทศไทยเอง นอกจากจำนวนประชากรโลมาอิรวดีที่มีน้อยเนื่องจากลักษณะทางชีววิทยา หรือพฤติกรรมของโลมามีความ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อยู่สูง เช่น ความต้องการพื้นที่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะ หรือการตกลูกเพียงคราวละ 1 ตัว แล้ว จำนวนของโลมาอิรวดียังลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักๆ เห็นจะหนีไม่พ้นมนุษย์อีกเช่นเคย กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์คุกคามสัตว์ร่วมโลกทุกชนิด รวมทั้งโลมาอิรวดีด้วย

การอนุรักษ์โลมาอิรวดี......

ตามกฎหมายไทย โลมาอิรวดีได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 138 (สัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าที่เกิดในธรรมชาติและมีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะรัฐมนตรีให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า ห้ามครอบครอง หรือห้ามเพาะพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาต-กอง บ.ก.) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์โลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์หายาก พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นสัตว์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ก็จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในบัญชีตัวแดง (Red List) โดยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (Critically Endangered)

และจากการประชุมไซเตส ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 2-14 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ผลการประชุมได้อนุมัติให้โลมาอิรวดีเปลี่ยนสถานภาพจากบัญชีที่ 2 ขึ้นสู่บัญชีที่ 1 ตามข้อเสนอของประเทศไทย ทำให้อนาคตของโลมาอิรวดีดูไม่ริบหรี่เกินไปนัก เพราะอย่างน้อยอนุสัญญานี้ก็เป็นเกราะป้องกันโลมาอิรวดีจากการล่าและค้าระหว่างประเทศ ทั้งยังจะช่วยให้การดำเนินการอนุรักษ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการเริ่มอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่าอย่างโลมาอิรวดี ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญของความหวังที่จะอนุรักษ์โลมาชนิดนี้ไว้

องค์การสะพานปลา



องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )

ความเป็นมาของหน่วยงาน

ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้ • บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)

จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา

ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้

1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน

2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ

4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลา



สะพานปลาที่ต่างๆ.........


สะพานปลาสมุทรงสาคร


สะพานปลานครศรีธรรมราช


ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน

ท่าเทียบเรือประมงชุมพร



ท่าเทียบเรือประมงสุราษฎร์ธานี

ท่าเทียบเรือประมงสตูล


ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต


ท่าเทียบเรือประมงตราด


ท่าเทียบเรือประมงอ่างศิลา


สะพานปลากรุงเทพ


สะพานปลาสมุทรปราการ


ท่าเทียบเรือประมงระนอง


ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
ท่าเทียบเรือประมงสงขลา


ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส

ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน

วัตถุมีพิษ


มาตรา 19 : ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ลงในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้สัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่


วัตถุมีพิษ หมายถึง "สารออกฤทธิ์หรือวัตถุที่มีสารออกฤทธิ์ผสมอยู่ด้วย และให้หมายความรวมถึงวัตถุมีพิษธรรมดาและวัตถุมีพิษร้ายแรง" แต่ในมาตรานี้เป็นวัตถุมีพิษตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจานุเบกษา


องค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับการทิ้งวัตถุในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำตามมาตรา 19 มีดังนี้

(1.)เ ท ทิ้ง ระบายหรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ


(2.) กระทำการใดๆอันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาในที่จับสัตว์น้ำ


(3.) เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อแก่สัตว์


(4.) หรือทำให้เกิดมลพิษ


(5.) เว้นแต่เป็นการเป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่




วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2532 มี 12 ชนิด ซึ่งรวมทั้งสารที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างเดียวกัน โดยกำหนดความเข้มข้น 6 ชนิดและอีก 6 ชนิดกำหนดให้มีไม่ได้เลย ดังนี้

(1.) DDT อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm


(2.) Dieldrim อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm


(3.) Aldrin อัตราความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.001 ppm


(4.) Heptachor ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm


(5.) Heptachor epoxide ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.002 ppm


(6.) Carbofuran ความเข้มข้นที่มีได้ในน้ำไม่เกิน 0.05 ppm


(7.) Endrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย


(8.) Chlorpyrifos กำหนดให้มีไม่ได้เลย


(9.) Endosulfan กำหนดให้มีไม่ได้เลย


(10.) Deltamethrin กำหนดให้มีไม่ได้เลย


(11.) Sodiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย


(12.) Potassiumcyanide กำหนดให้มีไม่ได้เลย


ความผิดตามมาตรานี้ ความผิดสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อมีการ เท ทิ้ง ระบายวัตถุมีพิษ หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำ ได้แก่ คลอง หนองบึง แม่น้ำ ในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ โดยไม่ได้คำนึงถึงเหตุแห่งวัตถุที่ทิ้งนั้นว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ตาม ก็มีความผิดตามมาตรานี้แล้ว

เครื่องมือทำการประมง


เครื่องมือในพิกัด... หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อ ลักษณะ หรือวิธีใช้ในกฎกระทรวง และผู้ใช้เครื่องมือ ต้องได้รับอนุญาตและเสียเงินอากรตามที่กำหนดไว้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ได้กำหนดเครื่องมือในพิกัดไว้ 14 ชนิด คือ

1. ยอขันช่อ

2. ช้อนขันช่อ

3. ช้อนสนั่น

4. ช้อนหางเหยี่ยว

5. ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน

6. ถุงบาม

7. เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา

8. แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา)

9. ช้อนต่างๆปากกว้าง ตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป

10. เบ็ดราว ยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป

11. ข่าย

12. อวนต่างๆ

13. เฝือก

14. เครื่องกั้น


ถุงโพงพาง.............
ชื่อไทย : ถุงโพงพาง

ชื่ออังกฤษ : Set Bag Net

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้การรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน โพงพางหลักเป็นโพงพางที่พบมากที่สุด อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุดขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20 - 25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มักห่างกันตามขนาดปากอวน ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากัน ปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กด โดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง ส่วนเนื้ออวนเป็นโพลีเอทธีลีน ที่บริเวณปากจะมีขนาดใหญ่ที่สุด แล้วเล็กลงมาตามลำดับ ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5 - 3 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6 -10 ช่อง ทำได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวน แล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไม้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักขึงกู้ก้นอวนขึ้นมา เทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป โพงพางจะใช้ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 1 -6 เมตร และสามารถทำได้ตลอดทั้งปี
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : กุ้ง ปู และปลาที่ชอบอยู่ในเขตน้ำกร่อย

แหล่งทำการประมง : ทะเลสาบ



ช้อนสนั่น ..........

ชื่อไทย : ช้อนสนั่น

ชื่ออังกฤษ : Boat Dip Net

ลักษณะ : ถักด้วยด้ายเป็นตาข่ายขนาดตา 4 ซม.ผืนตาข่ายเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ก้นถุงลึก 4.50 เมตร ใช้ติดกับหัวเรือมีไม้รองรับคันช้อนเพื่อช่วยกำลังให้เบาลง ในขณะที่งัดช้อนขึ้นจากน้ำ ปากช้อนกว้าง 7-8 เมตร ขอบช้อนเหนือมีด้ามยาวประมาณ 6 เมตร ขนาดของช่องตาข่ายของช้อนนั้น 1.50 ซม.
วิธีใช้เครื่องมือ : ใช้เรือ 1 ลำ ชาวประมง 2 คน คนหนึ่งทำการพายเรือทางท้ายทวนกระแสน้ำไปเรื่อย ๆ ส่วนคนที่อยู่หัวเรือก็ต้องยกขึ้นหรือลงจากน้ำต้องใช้กำลังน้ำหนักของตัวคนโหนช้อนขึ้นมาจากน้ำ
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ตะเพียน ปลากา ปลากด และปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบริเวณที่ไปหาปลา

แหล่งทำการประมง : แหล่งน้ำทั่ว ๆ ไป



ช้อนหางเหยี่ยว ..........

ชื่อไทย : ช้อนหางเหยี่ยว

ชื่ออังกฤษ : Raft Dip Net

ลักษณะ : คล้ายกับช้อนสนั่น แต่เครื่องมือนี้ใช้แพเป็นพาหนะ

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ตะเพียน ปลากา ปลากด และปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบริเวณที่ไปหาปลา

แหล่งทำการประมง : แหล่งน้ำทั่ว ๆ ไป



เฝือก ........

ชื่อไทย : เฝือก

ชื่ออังกฤษ : Bamboo Screen

ลักษณะ : เป็นเครื่องจักรสานชนิดหนึ่ง ใช้ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเหลาเป็นซีกขนาดใหญ่เท่ากับก้านตับจากมุงหลังคาหรือใหญ่กว่านี้เล็กน้อย แล้วยกหรือกรองด้วยหวายเป็นแผง ๆ แผงหนึ่งตามปกติยาวประมาณ 8-10 เมตร ขนาดสูงของเฝือกนั้นสุดแท้แต่ผู้ที่ต้องการใช้ในสถานที่น้ำลึกเท่าใด ถ้าใช้ในสถานที่น้ำลึกมากก็ใช้ขนาดสูงมาก ในสถานตื้นก็ต่ำลงมาตามส่วน

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากะบอก กุ้ง ปลากะพง แหล่งทำการประมง : บริเวณที่มีน้ำขึ้นน้ำลง


ช้อนลาก.......

ชื่อไทย : ช้อนลาก

ชื่ออังกฤษ : Beach Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือช้อนลากชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายเปลญวน ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร ก้นถุงช้อนลึก 1.50 เมตร ขนาดช่องตา 3 ซม. ขอบช้อนด้านกว้างมีไม้ผูกติดสำหรับเอาเชือกผูกติดในขณะที่ทำการลาก..........วิธีการใช้เครื่องมือนั้นใช้คน 3 – 4 คน ลากช้อนเขาหาตลิ่ง
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากด ปลาดุก ปลาตะเพียนเป็นส่วนมากแหล่งทำการประมง : แม่น้ำ และลำคลองต่างๆ

ช้อนขาคีบ.......
ชื่อไทย : ช้อนขาคีม

ชื่ออังกฤษ : Boat Dip Net
ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ถักด้วยด้ายเป็นตาข่าย ขนาดตา 4 ซม. ผืนตาเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ก้นถุงลึก 4.50 เมตร ด้ามถือใช้ไม้ไผ่ 2 อัน อันหนึ่งยาว 4 เมตร ผูกไขว้กันระหว่างกึ่งกลางเป็นรูปกรรไกรแล้วผูกขึงผืนตาข่ายติดกับไม้ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นที่สำหรับถือ..........วิธีใช้เครื่องมือนั้น ใช้เรือ 1 ลำ ชาวประมง 2 คน คนหนึ่งทำการพายเรือทางท้ายทวนกระแสน้ำไปเรื่อยๆ ส่วนคนที่อยู่หัวเรือก็จีบช้อนขาคีมกดให้ปากช้อนลงในน้ำและยกขึ้นดูเป็นคราวๆ

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาตะเพียน ปลากา ปลากดแหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งที่มีน้ำไหล

ช้อนคอก........
ชื่อไทย : ช้อนคอก

ชื่ออังกฤษ : Boat Bag Net
ลักษณะ : เป็นเครื่องมือประเภทตาข่าย มีรูปเป็นถุง ปากถุงใช้ไม้ทำเป็นขอบสี่เหลี่ยมและมีเชือกผูกทั้งสี่มุม กรอบด้านกว้างๆประมาณ 2 เมตร ด้านยาว 4 เมตร ก้นถุงลึก 6 เมตร ขนาดของตาอวน 4 ซม...........วิธีการใช้เครื่องมือนั้น ใช้เรือ 1 ลำ ชาวประมงจำนวน 2 คน คนท้ายทำหน้าที่แจวเรือทวนน้ำ คนหัวเรือลากถุงช้อนคอกให้ถุงจมอยู่ใต้น้ำ แล้วยกถุงขึ้นดูเป็นคราวๆชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : จับกุ้งได้เป็นส่วนมาก

แหล่งทำการประมง : ทะเลสาบ

ช้อนพาย........
ชื่อไทย : ช้อนพาย

ชื่ออังกฤษ : Dip Net

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ทำด้วยไม้ไผ่ ถุงถักด้วยด้ายหรือป่าน ยาว 2 เมตร ปากถุงกว้าง 85 ซม. ถุงลึก 2 เมตร ตากว้าง 3 ซม...........วิธีการใช้เครื่องมือนั้นใช้คนๆเดียวถือช้อนพายนั่งอยู่บนร้านข้างตลิ่งและพายไปมาชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาสร้อย ปลาเนื้ออ่อน ลูกปลาสวาย

แหล่งทำการประมง : แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ

ช้อนกลม..........
ชื่อไทย : ช้อนกลม

ชื่ออังกฤษ : Shrimp Dip Netลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้เป็นช้อนชนิดหนึ่ง ขอบทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงรีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 – 80 ซม. ด้านล่างมีเนื้ออวน ใช้ทำการช้อนกุ้งตามริมตลิ่งโดยทั่วไป ชาวประมงจะทำการดำน้ำช้อนกุ้งตามเสาเรือนก็มีชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : กุ้ง และสัตว์น้ำที่อยู่ริมตลิ่งแหล่งทำการ
ประมง : ใช้ในน่านน้ำเค็มและน้ำจืด

ถุงบาม.......
ชื่อไทย : ถุงบาม

ชื่ออังกฤษ : Big Lift Net

ลักษณะ : คล้ายยอขนาดใหญ่ แต่ไม่มีคันยอ และปูผืนอวนไว้ที่พื้นทะเล รอเวลาให้ปลากระบอกเข้ามาบริเวณศูนย์กลางของผืนอวน แล้วยกขอบอวนทั้ง 4 ด้าน ให้พ้นผิวน้ำ จำนวนคนที่ใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางเครื่องมือ
บามจะมี 2 แบบ คือ แบบมีถุง และไม่มีถุง บามที่ใช้ในทะเลสาบสงขลาเป็นบามแบบไม่มีถุง
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากระบอก

แหล่งทำการประมง : บริเวณริมฝั่ง ห่างฝั่ง 10 - 50 ม น้ำลึก 1.50 - 3 .00ม

เบ็ดราว........

ชื่อไทย : เบ็ดราว

ชื่ออังกฤษ : Baited Set Line

ลักษณะ : เครื่องมือชนิดนี้ประกอบด้วยเส้นเชือกหรือสายลวดทำเป็นสายคร่าวเบ็ด ยาวตามความต้องการ ที่พบในน่านน้ำจืดนั้นมีความยาวประมาณ 100-200 เมตร ถ้าใช้ในน่านน้ำเค็มแล้วยาวถึง 1000 เมตรหรือมากกว่านั้นก็มี เขาใช้เบ็ดเบอร์ 4-8 หรือเล็กกว่านี้ก็ได้สุดแท้แต่ว่าจะจับปลาชนิดใด ผูกตัวเบ็ดสายทิ้งยาวประมาณ 20-40 ซม. ตามจำนวนตัวเบ็ดที่ต้องการ แล้วทำการผูกกับสายคร่าวเบ็ดเป็นระยะห่าง 40-50 ซม. อีกทีหนึ่ง

ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาน้ำจืด ปลาชะโด ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาเค้า ปลากรายปลาทะเล ปลาฉลาม กะเบน ฉนาก ปลาหางกิ่ว

แหล่งทำการประมง : บริเวณที่ขวางทางกระแสน้ำของหนอง บึง แม่น้ำ ลำคลองหรือทะเล

แห..........
ชื่อไทย : แห

ชื่ออังกฤษ : Cast Net

ลักษณะ : เป็นเครื่องมือในการครอบจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง แหทุกชนิดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อแผ่ออกจะเป็นรูปวงกลม ขอบตีนแหจะมีโซ่ทำด้วยเหล็กหรือตะกั่วขนาดความหนา 2 มม. เพื่อใช้ถ่วงแกให้จมตัวได้เร็ว วิธีการผูกโซ่ที่ตีนแห มีทั้งแบบที่เรียกว่า ทบเพลา และแบบไม่ทบเพลา การผูกแบบทบเพลาจะทำให้ตีนแหเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ตามแนวตีนแหทำให้สัตว์น้ำหลุดจากตีนแหได้ยกเว้น ขณะฉุดแหขึ้นมา ขนาดของแหเส้นรอบวง 10 - 28 ม. ขนาดตาอวนขึ้นอยู่กับสัตว์น้ำเป้าหมาย ถ้าเป็นแหกุ้ง จะมีขนาดตา 20 - 25 มม. แหปลากระบอกใช้ขนาดตา 30 - 35 มม. และแหหมึกจะมีขนาด 25 - 30 มม. ความสูงหรือรัศมีของแหขนาดเล็กทั่วไป ประมาณ 1.70 - 4.50 ม. โดยแหหมึกจะมีขนาดใหญ่สุด ในการทำการประมง แหปลากระบอกและแหกุ้ง ส่วนใหญ่ใช้ในเวลากลางวัน เพราะมองเห็นสัตว์น้ำได้ง่าย
ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลากระบอก กุ้ง ปลาหมึก แล้วแต่ชนิดของแห

แหล่งทำการประมง : แหล่งประมงน้ำลึก .50 - 1.50 ม. ซึ่งอยู่ติดริมคลอง ชายหาดทราย หรือท่าเทียบเรือ โดยเดินหาฝูงปลากระบอกให้พบก่อนจึงเหวี่ยงแหลงไปครอบ การทอดแหรับกุ้งบางครั้งต้องทอดแบบเดาสุ่มส่วนการใช้แหหมึกทำการประมงเฉพาะคืนเดียวเดือนมืด ในบริเวณน้ำลึก 6 - 10 ม. ส่วนใหญ่ทอดสมอเรือ 2 ตัวยึดหัวเรือ และท้ายเรือ แล้วเปิดไฟล่อรอเวลาให้หมึกมาตอมแสงไฟ

ข่าย.........
ชื่อไทย : ข่าย

ชื่ออังกฤษ : Set Gill Net
ลักษณะ : เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาวจาก 80-100 เมตร ลึก 2-3 เมตร มีขนาดตาใหญ่ 5-8 ซม. ตอนเชือกคร่าวบนนั้นโดยมากใช้ผักตบชวาทำเป็นทุ่นพยุงให้ลอยอยู่ได้ ส่วนทางด้านล่างนั้นบางแห่งก็ใช้ตะกั่วหรือบางแห่งก็ไม่ใช้วิธีการใช้งาน ใช้ปักขึงหัวท้ายในสถานที่ซึ่งไม่มีเรือสันจรไปมาตามหนองบึง เมื่อปลาว่ายน้ำมากระทบก็จะติดอวนชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ : ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ปลากระสูบ ปลาตะโกก ฯลฯ

แหล่งทำการประมง : ริมแม่น้ำ

เรือผีหลอก.........
ชื่อไทย : เรือผีหลอก

ชื่ออังกฤษ : Simple Catching Boat

ลักษณะ : ท้องเรือค่อนข้างแบน และกราบเรือเมื่อลอยอยู่ในน้ำจะสูงจากระดับน้ำ ไม่มากนัก กราบเรือด้านหนึ่งติดแผ่นกระดานทาสีขาวและวางให้เอียงลาดลงน้ำ อีกด้านหนึ่งของกราบเรือนั้นขึงตาข่าย เป็นแนวยาวตลอดลำเรือและให้ขอบสูงจากกราบเรือประมาณ 1 เมตร ใช้เป็นเรือประมงน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง
วิธีใช้เรือชนิดนี้ หาปลา คือ พายเรือออกหาปลาในเวลากลางคืน เมื่อปลาเห็นแผ่นกระดานสีขาวท่ามกลางความมืดปลาจะตกใจกระโดดข้าม แต่ก็ไม่พ้นเพราะถูกตาข่ายกั้นไว้ปลาจะตกลงไปในท้องเรือ นับเป็นวิธีหาปลาง่าย ๆ วิธีหนึ่ง และที่เรียกว่าเรือผีหลอกนั้นเป็นเพราะ ส่วนหนึ่งของเรือทาสีขาวโพลน แล่นในเวลากลางคืน และสามารถหลอกปลาให้ตกใจกระโดดลงไปในเรือได้ พื้นที่ที่ยังเห็นชนิดของสัตว์น้ำที่หาได้ : ปลาผิวน้ำทั่ว ๆ ไป

แหล่งทำการประมง : ในแม่น้ำลำคลองเวลากลางคืน

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

บันไดปลาโจน

........บันไดปลาโจน คือ.........

.... บันไดปลาที่ถูกสร้างขึ้นมีความต้องการที่จะช่วยให้ปลาและสัตว์น้ำอย่างอื่น สามารถเดินทางผ่านสิ่งกีดขวางทางเดินไปได้ เช่น ในกรณีการสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำที่ปลาและสัตว์น้ำมีการเดินทางหรือไม่ก็ กรณีที่ปลาต้องการเดินทางผ่านหน้าผา น้ำตก ให้ขึ้นไปหาที่ผสมพันธุ์หรือวางไข่ได้ ..... ปัจจุบัน บันไดปลาในประเทศไทยมีอยู่ 4 แห่ง คือ กว๊านพะเยา หนองหาน บึงบอระเพ็ด และเขื่อนปากมูล การ ก่อสร้างบันไดปลาในประเทศไทยได้มีการถกเถียงกันระหว่างนักวิชาการ 2 กลุ่มแรกคือ พวกที่ต้องการให้สร้างบันไดปลา และไม่ต้องการสร้างเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น โดยทั้งสองฝ่ายได้ให้เหตุผลโต้แย้งซึ่งกันและกัน และในที่สุดก็ปรากฎว่ากลุ่มที่ไม่ต้องการสร้างจะเป็นฝ่ายชนะทุกครั้งไป อันที่จริงแล้วปลาและสัตว์น้ำในประเทศไทยนี้ มีการอพยพย้ายถิ่นแต่ระยะการเดินทางไม่ไกลและการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไม่เห็นเด่นชัดอย่าง เช่น ปลาแซลมอนในต่างประเทศการเดินทางเท่าที่ปรากฎมักจะเดินทางไป - มา ระหว่างลำคลอง หนองบึงต่างๆ ที่ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้ เพื่อแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสม และแหล่งหากินอันอุดมสมบูรณ์ กว่าที่มีอยู่เดิมซึ่งที่สุดจะนำมาซึ่งผลผลิตของสัตว์น้ำที่สูงกว่า ที่จะถูกกักไว้ในบริเวณอันจำกัด จุดที่ฝ่ายต้องการให้สร้างจะแพ้อยู่เสมอก็คือ การขาดความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับบันไดปลา และการอพยพย้ายถิ่นของปลาปรากฎว่าความรู้ที่นำมาใช้อ้างอิงมักเป็นความรู้เรียนมาทางทฤษฎีเท่านั้น หาได้มีข้อมูลในทางปฏิบัติอันเกิดจากการทดลองค้นคว้าอย่างจริงจังไม่ และประกอบกับราคาก่อสร้างบันไดปลาสูงมากย่อมยากแก่การตัดสินใจลงทุน

คุณสมบัติ ส่วนประกอบและการออกแบบบันไดปลา.....

...บันไดปลาเป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อการเดินทางอพยพของปลาผ่านสิ่งกีดขวาง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา บันไดปลาจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและก่อสร้าง ที่จะต้องสอดคล้องกับอุปนิสัยของปลาที่จะใช้ ส่วนมากแล้วบันไดปลาที่ถูกสร้างจะให้ผลไม่ได้ดี เพราะขาดการศึกษาข้อมูลที่เหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

คุณสมบัติเบื้องต้นของบันไดปลา....
1. จะต้องเหมาะสมกับชนิดของปลาที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ เพื่อให้ปลาที่มีอยู่ส่วนใหญ่สามารถว่ายผ่านเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางไปได้โดยสะดวก 2. ต้องเป็นแบบที่ใช้การได้กับระดับน้ำที่บริเวณเหนือเขื่อนและใต้เขื่อนทุกระดับ ไม่ว่าระดับน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลมาก - น้อยเพียงไรก็ตาม
3. ไม่ว่าปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านบันไดปลา จะมากหรือน้อยเท่าใดก็สามารถใช้ได้ผลเสมอ
4. ต้องเป็นแบบที่สามารถว่ายผ่านได้โดยไม่บาดเจ็บหรือบอบช้ำมากนัก
5. ปลาสามารถหาทางเข้าบันไดปลาได้โดยง่ายปราศจากอาการรีรอหรือหลงทาง

ส่วนประกอบที่สำคัญของบันไดปลา...
1. ทางเข้า (Fish Entrance) เป็นส่วนแรกของการเข้าสู่บันได ซึ่งความสูงของน้ำที่ตกลงไม่ควรเกิน 1ฟุต เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของปลาที่จะเดินทางเข้ามาสู่บันไดแผ่นกั้นช่องทางเข้ามีอยู่ 3 แบบคือ1) Weirs2) Orifices และ3) Slots ดังรูปที่ 1, 2, 3
2. ทางผ่าน (Fish Passages) เป็นช่องทางผ่านของปลาระหว่างการเดินทาง
3. ทางออก (Fish Exitts) เป็นส่วนสุดท้ายที่ปลาจะออกจากบันไดไปสู่ด้านเหนือน้ำ ในการออกแบบต้องคำนึงถืง1) สามารถควบคุมปริมาณการไหลของน้ำในรางบันไดได้ 2) สามารถควบคุมปริมาณน้ำไหลเข้าสู่บันไดได้ ระหว่างเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทางด้านเหนือน้ำ3) สามารถป้องกันการติดค้างของพวกเศษขยะ, สวะ ฯลฯ ได้
4. น้ำล่อปลา (Auxiliary Water Supply) เพื่อความประสงค์ที่จะดึงดูดความสนใจของปลาให้เดินทางเข้าสู่บันไดปลา ทั้งนี้น้ำล่อปลาจะต้องไหลเทลงตรงส่วนด้านทางเข้าของบันไดปลา

การออกแบบบันไดปลา.....
การออกแบบบันไดปลานั้น จำเป็นจะต้องมีความรู้หลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น การประมง วิศวกรรมและชีววิทยาประกอบกันมีหลักการออกแบบดังนี้....

1.ต้องทราบอุปนิสัยและชีวประวัติบางประการของปลาที่จะใช้บันไดปลา อาทิเช่น ความสามารถในการ ว่ายน้ำ ขนาดของตัวปลา ฤดูที่ปลาอพยพเดินทางและชนิดของปลา ซึ่งจะต้องทำการศึกษาให้ละเอียดเพื่อผลทางการออกแบบ บันไดปลา

2. ขนาด สัดส่วนของบันไดปลา อันได้แก่ ความกว้าง ความลึก และความยาว ซึ่งจะต้องพิจารณาเงื่อนไขดังต่อไปนี้ก) จำนวนของปลาที่คาดหมายไว้ว่าจะให้ผ่านบันไดปลาข) ปริมาณน้ำที่ผ่านบันไดปลา

3. ความลาดเอียงของบันไดปลา (Slope) ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและชนิดของปลา ได้เคยมีการศึกษาความลาดเอียงของบันไดปลาโจน มีตั้งแต่ 1 - 4 ถึง 1 - 30 ในการออกแบบต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่นความสามารถของปลาในการผ่านบันไดปลา การบังคับความเร็วของกระแสน้ำ ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางและสถานที่ก่อสร้าง

4. ชนิดของแผ่นลดความเร็ว เช่น Weirs, Orifices Slots

5. ความเร็วของกระแสน้ำในบันไดปลา Rousefell (1965) ได้ให้คำแนะนำว่าในการออกแบบความเร็วของกระแส น้ำ จะต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวควบคุมอยู่คือ - ชนิดและขนาดของปลา - ความสูงของเขื่อนหรือสิ่งกีดขวาง - ระยะทางระหว่างห้วงพักปลาในบันไดปลา - ขนาดและแบบของบันไดปลา

6. แบบทั่วๆ ไปของบันไดปลาที่นิยมคือ - แบบ Simple Sluice หรือ Inclined Chute เป็นแบบง่ายๆ คล้ายรางระบายน้ำ จะมีอุปกรณ์ลดความเร็วของ กระแสน้ำ หรือห้วงพักเหนื่อยของปลาไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ เหมาะสำหรับเขื่อนที่ไม่สูงนักและปลาที่มีขนาดเล็กเท่านั้น - แบบ Pool Type เป็นแบบที่นิยมใช้กันกว้างขวางกว่าแบบอื่นๆ ประกอบด้วยห้วงพักน้ำเรียงรายติดต่อกัน ที่ก้นราง อาจมีท่อระบายน้ำเล็กๆ เชื่อมต่อระหว่างแต่ละห้วงพักน้ำไว้ด้วยก็ได้ ใช้ได้ผลดีกับปลาที่แข็งแรง ว่องไว - แบบ Denil Type เป็นแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Pool Type แต่มีขนาดเล็กกว่าและการติดตั้งแผงลดความเร็วของน้ำผิดกันคือ แบบนี้ แผงลดความเร็วน้ำจะติดตั้งเอนไปข้างหน้าสู่กระแสน้ำ จะทำให้กระแสน้ำม้วนกลับลงเบื้องล่าง ช่วยลดความเร็วของน้ำในบริเวณนี้ปลาสามารถว่ายผ่านได้สะดวกขึ้น ใช้ได้ผลดีกับปลาแซลมอน - แบบ Fish Look ประกอบด้วยประตูบังคับน้ำที่ต้องอาศัยเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการปฏิบัติงานเหมาะสำหรับเขื่อน สูงๆ ที่สร้างในเนื้อที่จำกัด - แบบ Deep Baffle Channel ช่วยให้ปลาสามารถเดินทางผ่านน้ำตกที่สูงชัน และกระแสน้ำไหลเชี่ยวจัดได้

1. การอพยพของปลา (The Migrations of Fishes)...

การอพยพเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปลาเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งหมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญของปลา เพื่อเสาะหา สภาพแวดล้อมอันเหมาะสมกับความต้องการของชีวิตในช่วงนั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดทั้งตนเองและของลูกที่เกิดตามมาในอนาคต ดังนั้นการอพยพจึงเปรียบเสมือนสายในที่เชื่อมโยง "ช่วงชีวิต" แต่ละช่วงในชีพจักรของปลา ให้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน


1.1 วงจรของการเดินทางหรืออพยพย้ายถิ่นของปลามักประกอบด้วยวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้

1) การเดินทางเพื่อวางไข่ (Spawning Migration) หมายถึงการเดินทางจากถิ่นเดิมอันเป็นเแหล่งหากินหรือแหล่ง หลบหนาวไปสู่แหล่งวางไข่
2) การเดินทางเพื่อหากิน (Feeding Migration) เป็นการเดินทางจากแหล่งวางไข่หรือแหล่งหลบหนาวไปสู่แหล่งหา กิน
3) การเดินทางเพื่อหลบหนาว (Wintering Migration)
4) เดินทางหลบหนีมลภาวะ เช่น หนีน้ำเสีย หรือหนีน้ำเค็ม


1.2 ลักษณะของการอพยพเดินทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่น (Migration) ของปลาได้มีการจำแนกตามลักษณะของการอพยพเดินทางไว้ดังนี้ก. การเดินทางประจำฤดูกาล (Local and Seasonal Move - Ment) หมายถึง การเดินทางเพื่อเปลี่ยนถิ่นเฉพาะในฤดูกาลหนึ่งๆ ซึ่งมีอาณาบริเวณการเดินทางไม่กว้างไกลนัก เช่น เดินทางจากฝั่งด้านตะวันออกของทะเลสาบไปสู่ฝั่งตะวันตกเป็นต้นข. การแพร่กระจาย (Dispersal) หมายถึง การเดินทางร่อนเร่ไปโดยไร้จุดหมาย ถึงทางอันแท้จริงโดยอาจจะมีเส้น ทางประจำหรือไม่ก็ได้ค. การอพยพย้ายถิ่นที่แท้จริง (True Migration) หมายถึง การเดินทางเพื่อหากินและการผสมพันธุ์ โดยมีแหล่งหา กินอยู่ในถิ่นหนึ่ง แต่เมื่อจะผสมพันธุ์จะต้องกลับไปยังถิ่นที่เคยอยู่ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปลาแซลมอล ปลาเทราท์ การอพยพที่แท้จริงของปลาสามารถแบ่งแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้


1) Diadromous คือ ปลาที่มีการอพยพเดินทางไปมาระหว่างทะเลกับน่านน้ำจืด แบ่งออกเป็น
- Anadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในทะเลแต่ต้องอพยพเข้าสู่น่านน้ำจืดเพื่อการผสมพันธุ์และการ วางไข่ ปลาประเภทนี้ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาตะลุมพุก (Hilsa loli) และปลาปากกลม
- Catadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในน้ำจืด แล้วอพยพออกสู่ทะเลเพื่อวางไข่ เช่น ปลาไหลทะเล(Anquila anquilla) ในประเทศไทยเราก็มีอยู่ชนิดหนึ่งทางภาคใต้คือ ปลาตูหนา (Anquila australis)
- Amphidromous คือ ปลาที่อพยพไป - มาระหว่างทะเลแลน้ำจืด แต่การอพยพย้ายถิ่นนั้นไม่ใช่เพื่อไปผสมพันธุ์ หรือวางไข่ แต่จะเกิดเฉพาะในส่วนหนึ่งของชีพจรเท่านั้น
2) Potamodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในน่านน้ำจืดนั้น
3) Oceanodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในทะเลเท่านั้น


1.3 การอพยย้ายถิ่นของปลาในประเทศไทยการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก สืบเนื่องมาจากการมองข้ามสิ่ง เหล่านี้ไปของนักวิชาการประมง จากบทความของเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ (2521) ได้รายงานว่า ปลาฉนาก (Pristis cupidatus) เป็นปลาทะเลซึ่งพบว่าขึ้นไปถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ปลากระเบนน้ำจืด (Dasvabatus bleeken) เป็นปลาทะเลมี ผู้พบบ่อยๆ ตามแม่น้ำที่มีส่วนติดต่อกับทะเล ปลาตะลุมพุก (Hilsa toli) ปลาชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล แต่มักพบ เสมอแถบโรงงานสุราบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร ปลาโดกหรือปลาตะเพียนน้ำเค็ม (Namatolosa nasus) เป็นปลาทะเลที่ มักอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำเป็นครั้งคราว ปลาสะพัด (Scleropages Formosus) พบว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองใน จังหวัดตราด บางครั้งก็พบในทะเล จึงเชื่อว่าเป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นระหว่างน้ำจืดกับทะเลอีกชนิดหนึ่ง ปลาตะพัดเป็นปลาในยุคโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวในประเทศไทย สัตว์อื่นๆ นอกจากปลาแล้ว กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergil) มีการอพยพย้ายถิ่นน่านน้ำจืดออกสู่ปากน้ำที่มีน้ำกร่อย เพื่อวางไข่ลูกกุ้งวัยอ่อนจะอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณปากน้ำระยะหนึ่งจนกระทั้งเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่งแล้วจึงจะเดินทางขึ้นสู่ตอนเหนือของแม่น้ำที่มีน้ำจืดสนิท และเมื่อจะวางไข่ก็จะเดินทางล่วงลงมาสู่บริเวณปากน้ำอีกครั้งหนึ่งนอกจากพฤติกรรมในรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่นแล้ว เชื่อว่าปลาในประเทศไทยยังมีการเดินทางภายในน่านน้ำจืดอีกด้วยเช่น การเดินทางจากแม่น้ำหนึ่งไปยังอีกแม่น้ำหนึ่ง หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง หรือในการกลับกันก็ดี สำหรับผู้มีบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำคงจะเคยได้ยินพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเล่าเรื่องการจับปลาในฤดูน้ำหลาก และน้ำลดอันสนุกสนาน ปลานานาชนิดที่ เดินทางทวนกระแสน้ำขึ้นเหนือนั้น ส่วนมากจะเดินทางออกจากหนองบึงลงสู่แม่น้ำ หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง ทั้งนี้เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสมหรือตามความต้องการ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปลา ครั้นล่วงมาถึงปลายฤดูหนาวน้ำเริ่มจะลดระดับปลาในหนองบึงต่างๆ จะถอยร่นลงสู่แม่น้ำเป็นฝูงใหญ่ๆ ก่อนที่น้ำในหนองบึงจะลดแห้งขอด พฤติกรรมเช่นนี้ของปลาก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเดินทางได้ทั้งสิ้น

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

เขื่อนแม่งัดสมบรูณ์ชล

ชื่อ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

ประเภทเขื่อน เขื่อนดิน (Earthfill Dam)

สถานที่ตั้ง สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่บ้านใหม่ ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะเขื่อน

เขื่อนแม่งัดเป็นเขื่อนดินถม สูง 59 เมตร ยาว 1,950 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด 265 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนปากมูล


ชื่อ เขื่อนปากมูล

ลักษณะเขื่อน

เป็นคอนกรีตอัดบดแน่นมีอาคารระบายน้ำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แยกเป็นช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ขนาดกว้าง 22.5 เมตร สูง 14.75 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

ที่ตั้ง

ที่บ้านหัวเห่ว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดไปตามลำน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตรหรืออยู่ห่างจากปากแม่น้ำมูลประมาณ 6 กิโลเมตร

ประโยชน์

สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยความสูงของน้ำเพียง 3 เมตร ขึ้นไปแต่ละเครื่องมีกำลังผลิต 34,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 136,000 กิโลวัตต์ได้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนเจ้าพระยา


ชื่อ เขื่อนเจ้าพระยา

ตั้งอยู่ที่ บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 3 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

ลักษณะ
เป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้

ประโยชน์

ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวัด

ชื่อเขื่อนกระเสียว

ชื่อ เขื่อนกระเสียว

สถานที่ตั้ง
เขื่อนกระเสียวเป็นเขื่อนดินที่ยาวทีสุดในประเทศไทย กั้นลำห้วยกระเสียวตั้งอยู่ที่ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยกระเสียว กรมชลประทาน

ขนาดพื้นที่

ยาว 4,250 เมตร สูง 32.5 เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ 28,750 ไร่ ปริมาณน้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร

ประโยชน์

..ใช้ในการเกษตรกรรมของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยกระเสียว
- เป็นพื้นที่ประมง
- เป็นแหล่งท่องเที่ยว

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

เขื่อนรัชชประภา





ชื่อ เขื่อนรัชชประภา


ที่ตั้ง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เนื้อที่ มีความสูง ๕๘ เมตร ความยาวสันเขื่อน ๗๖๐ เมตร ความกว้าง ๘ เมตร ระดับสันเขื่อน ๑๐๖ เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)


อ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ ๔๖.๕ ตารางกิโลเมตร มีความจุ ๗๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร



ประวัติ


เขื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”


ลักษณะเขื่อน


เขื่อนแก่งกระจาน สร้างปิดกั้น แม่น้ำเพชร ที่บริเวณ เขาเจ้า และเขาไม้รวก ประชิดกัน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เขื่อนนี้ อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชร ขึ้นไปตามแนวถนน ๒๗ กิโลเมตร นอกจาก ตัวเขื่อน ยังมีเขื่อนดิน ปิดเขาต่ำ ทางขวาง ของเขื่อนอีก ๒ แห่ง คือ แห่งแรกสูง ๓๖ เมตร สันเขื่อนยาว ๓๐๕ เมตร แห่งที่ ๒ สูง ๒๔ เมตร สันเขื่อนยาว ๒๕๕ เมตร เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำ ได้มากขึ้น

ประโยชน์


- การชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนให้ประโยชน์ต่อการเพาะปลูกพืช บริเวณสองฝั่งแม่น้ำในตอนล่าง เป็นผลให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถทำนาปรัง และปลูกพืชในฤดูแล้งได้ผลดี
- บรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี
- การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ ทุกๆ ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งเป็นจำนวนมากลงไปในอ่างเก็บน้ำ สามารถให้ผลผลิตทางด้านการประมงเฉลี่ยปีละ 300 ตัน ซึ่งเป็นการส่งเสริมรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
- การท่องเที่ยว ทัศนียภาพโดยรอบบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สวยสดงดงาม และสงบร่มรื่น เหมาะแก่การไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน ให้เดินทางมาเยี่ยมชมเขื่อนรัชชประภา พื้นที่อ่างเก็บน้ำมีทัศนียภาพอันงดงาม ประกอบด้วยยอดเขาหินปูนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมามากมาย จนได้รับฉายาว่า "กุ้ยหลิน เมืองไทย" ซึ่งพื้นที่น้ำเกือบทั้งหมด อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก (เว้นเพียงพื้นที่น้ำในเขตทุ่นลอย อันได้แก่ รอบพระตำหนักเรือนรับรองที่ประทับ หน้าช่องระบายน้ำ และตลอดแนวสันเขื่อน อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
- การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจากเขื่อนสามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 315 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น นอกจากนี้น้ำที่ปล่อยผ่านเครื่องผลิตไฟฟ้า ยังส่งต่อเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม บริเวณพื้นที่ท้ายน้ำอีกด้วย
- แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม สภาพน้ำที่มีบปริมาณน้อยของลำน้ำพุมดวง-ตาปี ในฤดูแล้ง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มรุมล้ำเข้ามาตามลำน้ำ น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนรัชชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และต้านทานการรุกล้ำของน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ



เขื่อนแก่งกระจาน





ชื่อ เขื่อนแก่งกระจาน

ที่ตั้ง
ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

เนื้อที่ อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของ
เขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร

ประโยชน์

เขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการ คือ
- เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
- สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย
- เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง
- เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

เขื่อนศรีนครินทร์



ชื่อ เขื่อนศรีนครินทร์

ที่ตั้ง บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

เนื้อที่ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรี-นครินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 1,532 ตารางกิโลเมตร หรือ 957,500 ไร่

ประวัติความเป็นมา

เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแควใหญ่ เหนือเขื่อนศรีนครินทร์มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำพุร้อน ถ้ำ และทะเลสาป ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2523 กองอุทยานแห่งชาติเดิม กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2523 ให้นายนิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ทำการสำรวจ ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2522 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ (เดิม)(นายผ่อง เล่งอี้) ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรมป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะสำรวจของจังหวัดทำการสำรวจด้วยเช่นกัน พบว่าพื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทางธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ (เดิม) กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2523เห็นสมควรดำเนินการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษี และป่าเขา - บ่อแร่ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 38 ของประเทศ กองอุทยานแห่งชาติ (เดิม) กรมป่าไม้ ได้กระทำพิธีเปิดป้ายอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรี-นครินทร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2529โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) เป็นประธานในพิธีเปิด


ลักษณะของเขื่อนและโรงไฟฟ้า

เป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความสูงจากฐานราก 140 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร กว้าง 15 เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 419 ตารางกิโลเมตร มีความจุมากเป็นอันดับหนึ่งคือ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 5 เครื่อง เครื่องที่ 1-3 กำลังผลิต เครื่องละ 120,000 กิโลวัตต์ เครื่องที่ 4-5 เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบสูบกลับ กำลังผลิต เครื่องละ 180,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 720,000 กิโลวัตต์ งานก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ เริ่มเมื่อปี 2516 แล้วเสร็จในปี 2523 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระนามาภิไธยสมเด็จพระศรีนครินทร์ มาขนานนามเขื่อน และเสด็จ พระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2524


ประโยชน์

เขื่อนศรีนครินทร์เป็นโครงการอเนกประสงค์ ซึ่งอำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
- ชลประทานช่วยส่งเสริมระบบชลประทาน โครงการแม่กลองใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี เขื่อนแม่กลองของกรมชลประทาน เป็นหัวงานทดน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรได้ตลอดปีเป็นเนื้อที่ถึง 4,118 ล้านไร่
- ผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละประมาณ 1,250 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
- บรรเทาอุทกภัย สามารถกักเก็บน้ำที่หลากมาในช่วงฤดูฝนไว้ในอ่างเก็บน้ำได้เป็นจำนวนมาก ช่วย บรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแม่กลองให้ลดน้อยลง
- คมนาคมทางน้ำสามารถใช้เป็นเส้นทางเดินเรือขึ้นไปยังบริเวณอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
- ผลักดันน้ำเค็มสามารถปล่อยน้ำลงผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนล้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณ ปากน้ำแม่กลองในช่วงฤดูแล้ง
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรอีกทางหนึ่งด้วย
- เขื่อนศรีนครินท์นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้มาเที่ยวชมปีละเป็นจำนวนกว่าแสนคน และก่อให้เกิดการขยายตัวทางการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง เช่น แพท่องเที่ยวในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น