วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สัตว์น้ำคุ้มครองที่ใกล้จะสูญพันธุ์

โลมาอิรวดี......

ชื่อไทย โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร (Irrawaddy Dolphin หรือ Ayeyarwaddy Dolphin)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Orcaella brevirostris อยู่ใน

วงศ์โลมา (Delphinidae)

รูปร่างหน้าตา คล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180 - 275 ซ.ม. น้ำหนักไม่มีรายงาน

มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบ เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิระวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 พบว่ามีอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบัน สามารถพบได้ที่ ทะเลสาบชิลก้า ประเทศอินเดีย แม่น้ำโขง ทะเลสาบสงขลาและปากแม่น้ำบางปะกง เป็นต้น

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70-150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาด 40 % ของตัวโตเต็มวัย อาหาร ได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) จัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์


โลมาอิรวดีบนเวทีอนุรักษ์โลก........

โลมาอิรวดีได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศไทยเสนอเพิ่มความคุ้มครองในอนุสัญญาไซเตสจากบัญชีสอง เป็นบัญชีหนึ่ง เพื่อให้โลมาที่น่ารักและมีจำนวนประชากรน้อยนิดชนิดนี้ได้รับการคุ้มครองมา


ทำความรู้จักโลมาอิรวดี..............

โลมาอิรวดี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ในน้ำจืดถึงน้ำเค็ม พบแพร่กระจายอยู่ในประเทศกลุ่ม อินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่อินเดียถึงออสเตรเลีย มีรายงานการพบในบังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และไทย ในแต่ละบริเวณจะพบโลมาอิรวดีอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ชายฝั่ง หรือทะเลสาบน้ำกร่อย ซึ่งแต่ละแห่งมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งโลมาอิรวดีที่มีอยู่ยังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทยนั้น โลมาอิรวดีเป็นหนึ่งในบรรดาโลมาราว 7-10 ชนิดที่พบในประเทศไทย โลมาชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากโลมาทั่วๆ ไปคือ เป็นโลมาที่ไม่มีจะงอยปาก หัวกลมมนคล้ายๆ บาตรพระ เลยมีอีกชื่อหนึ่งว่า “โลมาหัวบาตร” แต่โลมาอิรวดีจะต่างจากโลมาหัวบาตรชนิดอื่นๆ ตรงที่โลมาอิรวดีจะมีครีบหลังรูปสาม เหลี่ยมโค้งมน ขนาดไม่ใหญ่นัก สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำเงินเทาตลอดตัว แต่บริเวณท้องจะมีสีจางลง โลมาอิรวดี ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็ก น้อย อายุเฉลี่ยของโลมาอิรวดีอยู่ที่ ประมาณ

โลมาอิรวดีกำลังจะสูญพันธุ์..........

สถานการณ์ความอยู่รอดของโลมาอิรวดีทั่วโลกกำลังตกอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง รวมทั้งในประเทศไทยเอง นอกจากจำนวนประชากรโลมาอิรวดีที่มีน้อยเนื่องจากลักษณะทางชีววิทยา หรือพฤติกรรมของโลมามีความ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อยู่สูง เช่น ความต้องการพื้นที่อาศัยที่มีลักษณะเฉพาะ หรือการตกลูกเพียงคราวละ 1 ตัว แล้ว จำนวนของโลมาอิรวดียังลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักๆ เห็นจะหนีไม่พ้นมนุษย์อีกเช่นเคย กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์คุกคามสัตว์ร่วมโลกทุกชนิด รวมทั้งโลมาอิรวดีด้วย

การอนุรักษ์โลมาอิรวดี......

ตามกฎหมายไทย โลมาอิรวดีได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 138 (สัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าที่เกิดในธรรมชาติและมีรายชื่ออยู่ในประกาศคณะรัฐมนตรีให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า ห้ามครอบครอง หรือห้ามเพาะพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาต-กอง บ.ก.) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์โลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์หายาก พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นสัตว์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ก็จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในบัญชีตัวแดง (Red List) โดยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (Critically Endangered)

และจากการประชุมไซเตส ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 2-14 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ผลการประชุมได้อนุมัติให้โลมาอิรวดีเปลี่ยนสถานภาพจากบัญชีที่ 2 ขึ้นสู่บัญชีที่ 1 ตามข้อเสนอของประเทศไทย ทำให้อนาคตของโลมาอิรวดีดูไม่ริบหรี่เกินไปนัก เพราะอย่างน้อยอนุสัญญานี้ก็เป็นเกราะป้องกันโลมาอิรวดีจากการล่าและค้าระหว่างประเทศ ทั้งยังจะช่วยให้การดำเนินการอนุรักษ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการเริ่มอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่าอย่างโลมาอิรวดี ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญของความหวังที่จะอนุรักษ์โลมาชนิดนี้ไว้

ไม่มีความคิดเห็น: