วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551


1. การอพยพของปลา (The Migrations of Fishes)...

การอพยพเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของปลาเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ซึ่งหมายถึงการปรับตัวครั้งสำคัญของปลา เพื่อเสาะหา สภาพแวดล้อมอันเหมาะสมกับความต้องการของชีวิตในช่วงนั้นๆ เพื่อเป็นหลักประกันความอยู่รอดทั้งตนเองและของลูกที่เกิดตามมาในอนาคต ดังนั้นการอพยพจึงเปรียบเสมือนสายในที่เชื่อมโยง "ช่วงชีวิต" แต่ละช่วงในชีพจักรของปลา ให้ติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน


1.1 วงจรของการเดินทางหรืออพยพย้ายถิ่นของปลามักประกอบด้วยวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้

1) การเดินทางเพื่อวางไข่ (Spawning Migration) หมายถึงการเดินทางจากถิ่นเดิมอันเป็นเแหล่งหากินหรือแหล่ง หลบหนาวไปสู่แหล่งวางไข่
2) การเดินทางเพื่อหากิน (Feeding Migration) เป็นการเดินทางจากแหล่งวางไข่หรือแหล่งหลบหนาวไปสู่แหล่งหา กิน
3) การเดินทางเพื่อหลบหนาว (Wintering Migration)
4) เดินทางหลบหนีมลภาวะ เช่น หนีน้ำเสีย หรือหนีน้ำเค็ม


1.2 ลักษณะของการอพยพเดินทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่น (Migration) ของปลาได้มีการจำแนกตามลักษณะของการอพยพเดินทางไว้ดังนี้ก. การเดินทางประจำฤดูกาล (Local and Seasonal Move - Ment) หมายถึง การเดินทางเพื่อเปลี่ยนถิ่นเฉพาะในฤดูกาลหนึ่งๆ ซึ่งมีอาณาบริเวณการเดินทางไม่กว้างไกลนัก เช่น เดินทางจากฝั่งด้านตะวันออกของทะเลสาบไปสู่ฝั่งตะวันตกเป็นต้นข. การแพร่กระจาย (Dispersal) หมายถึง การเดินทางร่อนเร่ไปโดยไร้จุดหมาย ถึงทางอันแท้จริงโดยอาจจะมีเส้น ทางประจำหรือไม่ก็ได้ค. การอพยพย้ายถิ่นที่แท้จริง (True Migration) หมายถึง การเดินทางเพื่อหากินและการผสมพันธุ์ โดยมีแหล่งหา กินอยู่ในถิ่นหนึ่ง แต่เมื่อจะผสมพันธุ์จะต้องกลับไปยังถิ่นที่เคยอยู่ อย่างที่เห็นได้ชัดคือ ปลาแซลมอล ปลาเทราท์ การอพยพที่แท้จริงของปลาสามารถแบ่งแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้


1) Diadromous คือ ปลาที่มีการอพยพเดินทางไปมาระหว่างทะเลกับน่านน้ำจืด แบ่งออกเป็น
- Anadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในทะเลแต่ต้องอพยพเข้าสู่น่านน้ำจืดเพื่อการผสมพันธุ์และการ วางไข่ ปลาประเภทนี้ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาตะลุมพุก (Hilsa loli) และปลาปากกลม
- Catadromous คือ ปลาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่หากินอยู่ในน้ำจืด แล้วอพยพออกสู่ทะเลเพื่อวางไข่ เช่น ปลาไหลทะเล(Anquila anquilla) ในประเทศไทยเราก็มีอยู่ชนิดหนึ่งทางภาคใต้คือ ปลาตูหนา (Anquila australis)
- Amphidromous คือ ปลาที่อพยพไป - มาระหว่างทะเลแลน้ำจืด แต่การอพยพย้ายถิ่นนั้นไม่ใช่เพื่อไปผสมพันธุ์ หรือวางไข่ แต่จะเกิดเฉพาะในส่วนหนึ่งของชีพจรเท่านั้น
2) Potamodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในน่านน้ำจืดนั้น
3) Oceanodromous คือ ปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นจำกัดอยู่เฉพาะในทะเลเท่านั้น


1.3 การอพยย้ายถิ่นของปลาในประเทศไทยการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากเทียบกับต่างประเทศแล้วนับว่าน้อยมาก สืบเนื่องมาจากการมองข้ามสิ่ง เหล่านี้ไปของนักวิชาการประมง จากบทความของเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ (2521) ได้รายงานว่า ปลาฉนาก (Pristis cupidatus) เป็นปลาทะเลซึ่งพบว่าขึ้นไปถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ปลากระเบนน้ำจืด (Dasvabatus bleeken) เป็นปลาทะเลมี ผู้พบบ่อยๆ ตามแม่น้ำที่มีส่วนติดต่อกับทะเล ปลาตะลุมพุก (Hilsa toli) ปลาชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล แต่มักพบ เสมอแถบโรงงานสุราบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร ปลาโดกหรือปลาตะเพียนน้ำเค็ม (Namatolosa nasus) เป็นปลาทะเลที่ มักอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำเป็นครั้งคราว ปลาสะพัด (Scleropages Formosus) พบว่าอาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลองใน จังหวัดตราด บางครั้งก็พบในทะเล จึงเชื่อว่าเป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่นระหว่างน้ำจืดกับทะเลอีกชนิดหนึ่ง ปลาตะพัดเป็นปลาในยุคโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวในประเทศไทย สัตว์อื่นๆ นอกจากปลาแล้ว กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergil) มีการอพยพย้ายถิ่นน่านน้ำจืดออกสู่ปากน้ำที่มีน้ำกร่อย เพื่อวางไข่ลูกกุ้งวัยอ่อนจะอาศัยเลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณปากน้ำระยะหนึ่งจนกระทั้งเจริญเติบโตถึงระยะหนึ่งแล้วจึงจะเดินทางขึ้นสู่ตอนเหนือของแม่น้ำที่มีน้ำจืดสนิท และเมื่อจะวางไข่ก็จะเดินทางล่วงลงมาสู่บริเวณปากน้ำอีกครั้งหนึ่งนอกจากพฤติกรรมในรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่นแล้ว เชื่อว่าปลาในประเทศไทยยังมีการเดินทางภายในน่านน้ำจืดอีกด้วยเช่น การเดินทางจากแม่น้ำหนึ่งไปยังอีกแม่น้ำหนึ่ง หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง หรือในการกลับกันก็ดี สำหรับผู้มีบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำคงจะเคยได้ยินพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเล่าเรื่องการจับปลาในฤดูน้ำหลาก และน้ำลดอันสนุกสนาน ปลานานาชนิดที่ เดินทางทวนกระแสน้ำขึ้นเหนือนั้น ส่วนมากจะเดินทางออกจากหนองบึงลงสู่แม่น้ำ หรือจากแม่น้ำเข้าสู่หนองบึง ทั้งนี้เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งวางไข่อันเหมาะสมหรือตามความต้องการ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของปลา ครั้นล่วงมาถึงปลายฤดูหนาวน้ำเริ่มจะลดระดับปลาในหนองบึงต่างๆ จะถอยร่นลงสู่แม่น้ำเป็นฝูงใหญ่ๆ ก่อนที่น้ำในหนองบึงจะลดแห้งขอด พฤติกรรมเช่นนี้ของปลาก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเดินทางได้ทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น: